เกี่ยวกับระบบข้อมูลและบริหารจัดการวัคซีน (VIMS)


  ความเป็นมาและวัตถุประสงค์


สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานกลางด้านวัคซีนของประเทศไทย มีพันธกิจสำคัญในการขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินงานตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการให้มีการวิจัย พัฒนา ผลิต และกระจายวัคซีนที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ

การพัฒนาระบบข้อมูลวัคซีน ภายใต้ชื่อ "ระบบข้อมูลและบริหารจัดการวัคซีน (Vaccine Information and Management System: VIMS)" เป็นโครงการที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 โดยมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ ดังนี้:

1. นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564

- ยุทธศาสตร์ที่ 1: การพัฒนาระบบและบริหารจัดการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้มีประสิทธิภาพทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน
- กลยุทธ์: การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการวัคซีน

2. นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570

- ยุทธศาสตร์ที่ 1: การพัฒนาระบบและบริหารจัดการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน

3. แผนยุทธศาสตร์สถาบันวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570

- ยุทธศาสตร์ที่ 2: การพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านวัคซีนทั้งเชิงนโยบายและเชิงวิชาการ

วัตถุประสงค์หลักของระบบ VIMS คือการจัดทำแหล่งข้อมูลกลางด้านวัคซีนของประเทศที่มีความครอบคลุม ครบถ้วน และทันสมัย โดยรวบรวมข้อมูลตั้งแต่กระบวนการวิจัยพัฒนาไปจนถึงการนำวัคซีนไปใช้ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการวิจัยพัฒนา การผลิต และการใช้วัคซีนของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด


  แนวคิดและกระบวนการพัฒนาระบบ VIMS


การพัฒนาระบบ VIMS อยู่บนพื้นฐานของแนวคิดการครอบคลุมข้อมูลตลอดวงจรวัคซีน (Vaccine Cycle) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ดังนี้:

1. การวิจัยพัฒนาในระดับห้องปฏิบัติการ (Laboratory Research and Development)
2. การทดสอบวัคซีนในสัตว์ทดลอง (Preclinical Testing)
3. การวิจัยทางคลินิกในมนุษย์ (Clinical Trials)
4. การผลิตวัคซีนในระดับอุตสาหกรรม (Industrial-scale Production)
5. การตรวจสอบคุณภาพและการขึ้นทะเบียนวัคซีน (Regulatory Authority)
6. การบริหารจัดการวัคซีน (Vaccine Management)
7. การนำวัคซีนมาใช้ในกลุ่มเป้าหมาย (Immunization)
8. การศึกษาติดตามผลหลังวัคซีนออกสู่ตลาด (Post-marketing Surveillance)

กระบวนการทำงานของระบบ VIMS แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก:

1. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection):

- รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ
- ครอบคลุมข้อมูลจากภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และแหล่งข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง

2. การวิเคราะห์และประมวลผล (Data Analysis):

- วิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องกับความต้องการ
- ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความหมาย ถูกต้องและนำไปใช้ประโยชน์ได้

3. การแสดงผลในรูปแบบแดชบอร์ด (Data Visualization):

- นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและมีความสวยงาม
- ใช้เทคนิคการแสดงผลข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูล เช่น Data Visualization, Infographics เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูล


  วัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายของระบบ VIMS


ระบบ VIMS มีวัตถุประสงค์หลักในการเป็นแหล่งข้อมูลกลางด้านวัคซีนที่มีความครอบคลุม น่าเชื่อถือ และทันสมัย โดยมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหลัก 2 กลุ่ม ดังนี้:

1. ผู้กำหนดนโยบาย (Policy Makers) และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน:

- สนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายด้านวัคซีนบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์
- เอื้ออำนวยต่อการวางแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางวัคซีนระดับชาติ
- สนับสนุนการบริหารจัดการวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- ส่งเสริมการพัฒนากลไกการบริหารจัดการด้านวัคซีนแบบบูรณาการ
- สนับสนุนให้เกิดความมั่นคงด้านวัคซีน โดยมุ่งเน้นให้ประเทศมีวัคซีนใช้อย่างเพียงพอในทุกสถานการณ์
- ส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
- สนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเชิงนโยบายและวิชาการ

2. นักวิชาการ บุคลากร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ:

- เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการด้านวัคซีนที่น่าเชื่อถือ
- ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานด้านวัคซีนของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน นำไปสู่ความมั่นคงด้านวัคซีนและการมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนไทย ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองด้านวัคซีนของประเทศ


  การพัฒนาระบบ VIMS: จากจุดเริ่มต้นสู่ปัจจุบัน


ระบบ VIMS ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ด้วยวิสัยทัศน์ที่จะเป็นระบบข้อมูลวัคซีนที่ทันสมัยและครอบคลุมที่สุด เรามุ่งมั่นพัฒนาและปรับปรุงระบบอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกระดับ

ปี 2563: การวางรากฐาน

- โครงสร้างพื้นฐาน: ออกแบบและติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานของระบบที่รองรับการขยายตัวในอนาคต

- จุดเริ่มต้นของการแสดงผลข้อมูล: ออกแบบแดชบอร์ด 4 โมดูลหลัก 8 โมดูลย่อย ครอบคลุมข้อมูลพื้นฐานด้านวัคซีน

- การนำวัคซีนไปใช้
- อุปสงค์และอุปทาน
- การจัดซื้อวัคซีน
- ผลิตภัณฑ์วัคซีน

ปี 2564: การเปิดตัวสู่สาธารณะ

- VIMS สู่สายตาประชาชน: เปิดใช้งานระบบ VIMS เป็นครั้งแรก (รุ่น VIMS 1.0)

- การขยายฐานข้อมูล: พัฒนาและออกแบบแดชบอร์ดเพิ่มเติม 4 โมดูลหลัก 9 โมดูลย่อย เพิ่มความครอบคลุมของข้อมูล

- การผลิตวัคซีน
- การวิจัยและพัฒนา
- เครือข่าย
- โครงสร้างพื้นฐานด้านวัคซีน

ปี 2565: เพิ่มความครอบคลุม

- เพิ่มโมดูลที่ครอบคลุมมากขึ้น: ออกแบบแดชบอร์ดเพิ่มเติม 6 โมดูลหลัก 11 โมดูลย่อย รวมถึงข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา

- เชื้อโรคและภาระโรค
- การนำวัคซีนไปใช้ (ขยายข้อมูล)
- การผลิตวัคซีน (ขยายข้อมูล)
- การวิจัยและพัฒนา (ขยายข้อมูล)
- เครือข่าย (ขยายข้อมูล)
- โครงสร้างพื้นฐานด้านวัคซีน (ขยายข้อมูล)

ปี 2566: ขยายโมดูลเฉพาะ

- เพิ่มโมดูลพิเศษ: พัฒนาและออกแบบแดชบอร์ดเพิ่มเติม 1 โมดูลหลัก เน้นเฉพาะข้อมูลวัคซีนโควิด-19

- วัคซีนโควิด-19

ปี 2567: VIMS 1.1 - ปรับอินเตอร์เฟสให้ทันสมัย

ปัจจุบัน ระบบ VIMS ได้พัฒนาเป็น VIMS 1.1 ที่นำเสนอข้อมูลวัคซีนแบบครบวงจร:

- 10 โมดูลหลัก, 28 โมดูลย่อย: ครอบคลุมทุกแง่มุมของวงจรวัคซีน
- 112 หน้าแดชบอร์ด: นำเสนอข้อมูลที่หลากหลายและเข้าถึงง่าย
- อินเตอร์เฟสใหม่: ปรับปรุงการออกแบบให้ใช้งานง่ายและสวยงามยิ่งขึ้น

โมดูลหลักของ VIMS 1.1:

1. เชื้อโรคและภาระโรค: ข้อมูลเชื้อก่อโรคและสายพันธุ์วัคซีน ข้อมูลโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีนและโรคที่คาดว่าจะมีวัคซีนในอนาคต
2. การวิจัยและพัฒนา: ติดตามความก้าวหน้าของการวิจัยวัคซีนของประเทศและทั่วโลก รวมทั้งข้อมูลการสนับสนุนทุนด้านวัคซีน
3. การผลิตวัคซีน: ข้อมูลผู้ผลิตและวัคซีนที่ดำเนินการผลิต แสดงศักยภาพการผลิตวัคซีนของประเทศ
4. การนำวัคซีนไปใช้: ติดตามการใช้วัคซีนในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และความครอบคลุมการได้รับวัคซีน
5. อุปสงค์และอุปทาน: วิเคราะห์ความต้องการและการจัดหาวัคซีนระดับโลกและระดับประเทศ เพื่อวางแผนการจัดหาวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ
6. การจัดซื้อวัคซีน: วิเคราะห์ข้อมูลการจัดซื้อวัคซีนระดับโลกและระดับอาเซียน เพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย
7. ผลิตภัณฑ์วัคซีน: นำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์วัคซีนที่ขึ้นทะเบียนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงข้อมูลทางเทคนิคที่สำคัญ
8. โครงสร้างพื้นฐานด้านวัคซีน: ติดตามข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศ
9. เครือข่าย: ติดตามเครือข่ายวัคซีนและฐานข้อมูลบุคลากรวัคซีนของประเทศ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการพัฒนาบุคลากร
10. วัคซีนโควิด-19: แสดงข้อมูลเฉพาะวัคซีนโควิด-19 ครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนา การผลิต ไปจนถึงการนำไปใช้

VIMS 1.1 ไม่เพียงแต่เป็นฐานข้อมูล แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการขับเคลื่อนนโยบายด้านวัคซีน การวิจัยและพัฒนา และการสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศไทยและภูมิภาค เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาต่อไป เพื่อก้าวสู่การเป็นฐานข้อมูลที่ทรงคุณค่าและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อวงการวัคซีนและสาธารณสุขของประเทศ


  คำถามที่พบบ่อย (Frequently Asked Questions - FAQ)


1. ระบบ VIMS คืออะไร?

ระบบ VIMS (Vaccine Information and Management System) เป็นระบบฐานข้อมูลกลางด้านวัคซีนของประเทศไทย ที่รวบรวมข้อมูลตลอดวงจรวัคซีน ตั้งแต่การวิจัยพัฒนาไปจนถึงการใช้วัคซีนในประชากร

2. ใครสามารถใช้งานระบบ VIMS ได้บ้าง?

ระบบ VIMS ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้องในวงการวัคซีนหลากหลายกลุ่ม เช่น:

• ผู้กำหนดนโยบายและผู้บริหาร
• นักวิจัยและนักพัฒนาวัคซีน
• บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
• ผู้ผลิตวัคซีน
• นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน
• บุคลากรด้านวัคซีนอื่น ๆ
• ประชาชนทั่วไปที่สนใจข้อมูลด้านวัคซีน

3. ข้อมูลในระบบ VIMS มีการอัพเดทบ่อยแค่ไหน?

ความถี่ในการอัพเดทข้อมูลขึ้นอยู่กับประเภทของข้อมูล บางส่วนมีการอัพเดทรายปี รายไตรมาส หรือรายเดือน ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของข้อมูล

4. ข้อมูลในระบบ VIMS มาจากไหน?

ข้อมูลใน VIMS เป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ที่รวบรวมจากหลายแหล่ง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และเอกสารทางวิชาการที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้ ทุกแหล่งข้อมูลผ่านการคัดกรองและประเมินความน่าเชื่อถือโดยผู้เชี่ยวชาญก่อนนำเข้าสู่ระบบ

5. ระบบ VIMS มีประโยชน์อย่างไร?

VIMS ช่วยในการตัดสินใจเชิงนโยบาย การบริหารจัดการวัคซีน การวิจัยและพัฒนา และการสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลวัคซีนของประเทศ

6. ฉันสามารถดาวน์โหลดข้อมูลจากระบบ VIMS ได้หรือไม่?

ปัจจุบัน ระบบ VIMS ยังไม่มีฟังก์ชันให้ดาวน์โหลดข้อมูลดิบจากฐานข้อมูลโดยตรง แต่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านการแสดงผลบนแดชบอร์ดและดาวน์โหลดเอกสาร Factsheet ได้

7. ระบบ VIMS รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์มือถือหรือไม่?

ระบบ VIMS ได้รับการออกแบบให้รองรับการใช้งานแบบ Responsive Design ซึ่งสามารถปรับการแสดงผลให้เหมาะสมกับอุปกรณ์หลากหลาย ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน

แผนพัฒนาในอนาคต:

• ออกแบบ User Interface เฉพาะสำหรับอุปกรณ์มือถือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน
• พัฒนา Mobile Application

8. ฉันจะแจ้งปัญหาการใช้งานหรือให้ข้อเสนอแนะได้อย่างไร?

ผู้ใช้สามารถแจ้งปัญหาหรือให้ข้อเสนอแนะได้หลายช่องทาง:

• ระบบรีวิวและแสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์ (จะปรากฎบนหน้าเว็บไซด์ระหว่างที่ใช้งานระบบ)
• ช่องทางอีเมลโดยตรงถึงทีมสนับสนุนระบบ
• แบบสำรวจความพึงพอใจและข้อเสนอแนะประจำปี


  กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgments)


ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบข้อมูลและบริหารจัดการวัคซีน (VIMS)

ระบบข้อมูลและบริหารจัดการวัคซีน (Vaccine Information and Management System: VIMS) เป็นผลงานที่เกิดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน โดยมีผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ ดังนี้:

ผู้บริหารและที่ปรึกษา:

1. ทีมผู้บริหารของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
- ผู้ให้วิสัยทัศน์และการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาระบบ VIMS

2. คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการกำหนดทิศทางและการพัฒนาระบบในช่วงระยะแรก

3. ที่ปรึกษา
- ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช: ที่ปรึกษางานด้านนโยบายวัคซีน ของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
- พันเอก นายแพทย์ภพกฤต ภพธรอังกูร: ประจำ กสวป.พบ. ทำการแทน หน.แผนกควบคุมโรคติดต่อและกีฏเวชวิทยา แผนกควบคุมโรคติดต่อและกีฏเวชวิทยา กองส่งเสริมสุขภาพและเวชกรรมป้องกัน กรมแพทย์ทหารบก

ทีมพัฒนาระบบ:

ศูนย์ความเป็นเลิศทางสารสนเทศศาสตร์ชีวเวชและสาธารณสุข (BIOPHICS) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

นักวิชาการวัคซีนผู้รับผิดชอบข้อมูล:

1. นักวิชาการวัคซีน สำนักพัฒนาศักยภาพด้านวัคซีนของประเทศ
2. นักวิชาการวัคซีน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
3. นักวิชาการวัคซีน สำนักสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์

หน่วยงานพันธมิตร:

หน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูลและแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสม

ผู้ใช้งานระบบ:

ผู้ใช้งานระบบ VIMS ทุกท่านที่ให้ข้อเสนอแนะอันมีค่า ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง

ความสำเร็จของระบบ VIMS เป็นผลมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ระบบนี้จะเป็นประโยชน์ต่อวงการวัคซีนและสาธารณสุขของประเทศไทย และจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ